วางแผนการเงินส่วนบุคคล

 

วางแผนการเงินส่วนบุคคล

 

วางแผนการเงินส่วนบุคคล

วางแผนการเงินส่วนบุคคลเป็นแผนการเงินแบบองค์รวม 

กระบวนการวางแผนการเงิน

1. วางแผนปกป้องทรัพย์สิน (Wealth Protection) เป็นส่วนสำคัญที่ต้องเตรียมการก่อน เพื่อควบคุมรายจ่ายไม่ให้กระทบกับแผนส่วนอื่น ๆ

2. วางแผนภาษี (Tax Planning) วางแผนเพื่อจ่ายภาษีน้อยที่สุด

3. วางแผนเตรียมค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ (Retirement Planning) คำนวณจำนวนเงินที่ต้องเตรียมพร้อม ณ วันที่หยุดทำงาน

4. วางแผนวางการลงทุน (Investment Planning) วางแผนการลงทุนตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของลูกค้า และให้ได้เงินตามเป้าหมายเกษียณ

5. วางแผนมรดก (Estate Planning) รวบรวมทรัพย์สินทั้งหมดทำทะเบียนทรัพย์สิน เตรียมค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องจ่ายในวันที่ส่งต่อทรัพย์สินให้ลูกหลาน


ขั้นตอนการทำแผนการเงิน

1. เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการเงิน 

2. ค้นหาเป้าหมายการเงิน

3. วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป

4. วิเคราะห์อัตราส่วนการเงินดูสถานการณ์เงินทั่วไปในปัจจุบัน

5. วิเคราะห์สภาพคล่องและวางแผนบริหารรายรับรายจ่าย

6. วิเคราะห์โครงสร้างภาษีปัจจุบันและวางแผนภาษี

7. วิเคราะห์ความเสี่ยงภัยรอบด้านและทำแผนบริหารความเสี่ยงภัย

8. วิเคราะห์โครงสร้างหนี้และทำแผนปรับบริหารโครงสร้างหนี้ (ถ้ามี)

9. เขียนแผนและทำแผนปฏิบัติการ

10. ติดตามผล 3 ครั้ง 4 ครั้ง และปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์จริง

 

ค่าธรรมเนียม

1. ค่าธรรมเนียม 0.125% ของทรัพย์สินสุทธิ ขั้นต่ำ 30,000 บาทต่อแผน

2. ชำระค่าธรรมเนียม 5,000 บาท ก่อนเริ่มเก็บข้อมูล ส่วนที่เหลือแบ่งชำระเป็น 5 งวด

3. ติดตามผลทุก 3 เดือน 4 ครั้ง เพื่อปรับแผนให้เป็นไปตามสถานการณ์

4. ปีต่อไปคิดค่าธรรมเนียมทบทวนแผนปีละ 5,000 บาท

5. หากไม่พอใจบริการคืนเงินค่าธรรมเนียมโดยไม่มีเงื่อนไข


ค่าคอมมิชชั่น

     ค่าคอมมิชชั่นขึ้นอยู่กับสินค้าการเงินที่ใช้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนการเงิน

 

 หมายเหตุ การซื้อสินค้าการเงินเป็นไปตามความประสงค์ของลูกค้า โดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ ที่จะต้องซื้อสินค้าหลังวางแผน