ตรวจสอบสถานการณ์เงิน

ตรวจสอบสถานการณ์เงิน

     

      สถานะการเงินที่มีโอกาสประสบปัญหาการเงินหรือกำลังมีปัญหาซึ่งจะพบคนรอบ ๆ ตัวเรามี 4สถานการณ์ ได้แก่พึ่งพาการเงินผู้อื่น, มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ, ไม่มีหนี้แต่ไม่มีเงินเก็บ, ไม่มีหนี้มีเงินแหลือมาก

 ตอนนี้ลองตอบตัวเองดูว่า

“เรานั้น...อยู่ในสถานะการเงินไหนใน 4สถานการณ์”

           

ลองถามตัวเองว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์การเงินไหนใน 4 สถานการณ์

      1. พึ่งพาการเงินผู้อื่น (Dependence)

      2. มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ (Solvency)

      3. ไม่มีหนี้แต่ไม่มีเงินเก็บ (Free debt, No saving)

      4. ไม่มีหนี้มีเงินแหลือมาก(Free debt, Lot saving)

      จะใช้ Money Spectrum Stage Model เรียงลำดับตามระดับทักษะการเงินโดยให้4 สถานการณ์ข้างต้นถูกจัดอยู่ใน 4 stages แรก การวางลำดับนี้จะช่วยให้เข้าใจแต่ละสถานการณ์ได้ง่ายขึ้น วัดผลได้ ง่ายที่จะเข้าใจการเคลื่อนสถานการณ์เงินไปทางที่ดีขึ้นจะต้องเพิ่มทักษะการเงินด้านใดบ้าง

 

 

 

Stage 0 – พึ่งพาผู้อื่น (Dependence)

      ขั้นการเงินพึ่งพาผู้อื่นคือ คนที่ยังเป็นเด็กหรือนักเรียนนักศึกษาพึ่งพาค่าใช้จ่ายจากพ่อแม่, คนที่ต้องจ่ายค่างวดหนี้มากกว่ารายได้, คนเรียนจบแล้วไม่ทำงาน, คนตกงานไม่ได้เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน, คนเกษียณที่ไม่มีการเตรียมค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ

 

Stage 1 – มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ (Solvency)

      ขั้นการเงินที่ไม่ต้องใช้เงินจากผู้อื่นมาช่วยจ่าย คือ คนที่มีรายได้เพียงพอในการจ่ายค่างวดหนี้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ  แต่สถานะจะเปลี่ยนเป็นภาวะพึ่งพาได้ เมื่อสูญเสียรายได้ หรือมีค่าใช้จ่ายที่ไมได้วางแผน เช่น ตกงานกะทันหัน เกิดเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ

 

Stage 2 – ไม่มีหนี้ ไม่มีเงินเก็บ (Free Debt, No Savings)

      ขั้นการเงินที่ไม่มีภาระหนี้สิน แต่ไม่มีเงินเก็บ ชีวิตจะปกติสุขหากมีรายได้เข้าต่อเนื่อง สถานะจะเปลี่ยนไปที่ภาวะพึ่งพาทันทีที่สูญเสียรายได้ เช่น ตกงาน เจ็บป่วย ฯลฯ สถานะการเงินขั้นนี้มีโอกาสย้อนกลับไปที่ Stage 1 หรือ 0 คือกลับไปเป็นหนี้ หรือต้องพึ่งพาผู้อื่น

 

Stage 3 – ไม่มีหนี้ เงินเหลือมาก (Free Debt, Lot Savings)

      ขั้นการเงินที่ไม่มีภาระหนี้สิน แต่มีเงินเก็บมาก ชีวิตจะปกติสุขในปัจจุบัน แต่หลังรายได้หยุดหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงการเงินรุนแรง เช่น เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุหนัก ทุพพลภาพ ฯลฯ อาจจะมีโอกาสกลับไปสู่ภาวะเงินออมหมด (Stage 2)ถ้าค่าใช้จ่ายนั้นเท่าเงินออมที่เคยสะสมไว้หรือกลับไปเป็นหนี้ (Stage 1) ถ้าค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่มากกว่าเงินเก็บหรือมีสถานะการเงินพึ่งพาผู้อื่น (Stage 0)ถ้าค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่นั้นสร้างหนี้สินก้อนใหญ่ที่เกินกำลังผ่อนคืน

 

Stage 4 – การเงินปลอดภัย (Financial Security)

       ขั้นการเงินปลอดภัย มีการเตรียมเงินครอบคลุมความต้องการพื้นฐาน คือมีการออมและลงทุนครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆมีเงินสำรองฉุกเฉิน 6-12 เดือน และมีประกันสุขภาพประกันคุ้มครองรายได้ครอบครัว แต่ยังไม่มีแหล่งเงินได้แทนรายได้จากการทำงาน

       ค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่คาดการณ์ได้ ได้แก่ ค่าเทอม ฯลฯ มีการคำนวณล่วงหน้าเป็นเป้าหมายออมและลงทุน ส่วนค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่คาดการณ์ไม่ได้ ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาลโรคร้ายแรงต่อเนื่อง ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วย อุบัติเหตุหนักฯลฯ ถูกอุดรูรั่วเงินออมด้วยเบี้ยประกันภัย

 

Stage 5 – อิสรภาพการเงิน (Financial Freedom)

      มีแหล่งเงินได้ทดแทนรายได้จากการทำงานครอบคลุมรายจ่าย มี 2 รูปแบบ: 1) มีแหล่งรายได้ที่จ่ายกระแสเงินสดจากทรัพย์สินครอบคลุมค่าใช้จ่ายตลอดชีวิต และ2) แบบที่มีแหล่งเงินก้อนใหญ่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายตลอดอายุขัย

 

Stage 6 – เหลือเฟือ เอื้อผู้อื่น (Abundance)

      มีแหล่งเงินได้ทดแทนรายได้จากการทำงานมากเกินกว่ารายจ่ายที่ใช้จ่าย เงินได้จากแหล่งเงินทดแทนรายได้จากการทำงานมีเหลือเกินที่สามารถแบ่งปัน ช่วยเหลือผู้อื่นได้ หรือการสร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์อุทิศให้กับผู้อื่นสังคม ประเทศชาติ และโลกใบนี้

      รายละเอียดแต่ละ Stage ลองพินิจพิจารณาดูว่า คุณอยู่ในขั้นไหน...ในขั้นที่คุณอยู่ ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยหรือยัง? มีความสงบสุขทางใจเกิดขึ้นหรือไม่?           

      ผลลัพธ์สถานการณ์การเงินในปัจจุบันเกิดจากการตัดสินใจในสถานการณ์การเงินในการใช้ชีวิตแต่ละวันซึ่งนอกเหนือจากมิติที่เกี่ยวกับตัวเลขแล้ว การตัดสินใจเรื่องการเงินมีรากฐานมาจากการรับรู้ความเชื่อเรื่องเงิน และความรู้สึกการเป็นผู้ให้ ความรับผิดชอบ หรือภาวะผู้นำด้วย

 

      ฉะนั้นสถานการณ์การเงินเป็นอย่างไรเกี่ยวข้องกับเงินมิติตัวเลขและอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งเราจำเป็นต้องทำความเข้าใจประกอบกันเพื่อวางรากฐานะการเงินที่มั่นคง