เงินสำรองฉุกเฉิน
เงินสำรองฉุกเฉิน
เงินสำรองฉุกเฉิน (Emergency Cash) เสาเข็มคู่เสาหลัก
ถ้าเราเพิ่งเริ่มวางแผนการเงิน และยังไม่มีการกันเงินสำรองฉุกเฉินเลย แนะนำให้ตั้งเป้าหมายเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน 6 เดือนของรายจ่ายประมาณการจากงบประมาณในหัวข้อที่แล้ว และเริ่มเปิดบัญชีเงินฝากเพื่อเตรียมเงินก้อนนี้ทันที
หลายคนเห็นความจำเป็นของเงินสำรองฉุกเฉินแล้ว ก็จะมีคำถามต่อไปว่าแล้วอย่างเรา “ต้องเตรียมเท่าไร”, หรือค่าใช้จ่ายติดลบทุกเดือน อย่างนี้จะเอาเงินที่ไหนมาเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน
“ค่าใช้จ่ายติดลบทุกเดือน
จะเอาเงินที่ไหนมาเตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน”
- ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไร?
- ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินอย่างไร?
ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินเท่าไร?
การจะเตรียมเท่าไรนั้นสัมพันธ์กับอาชีพ ภาระความรับผิดชอบและผู้ร่วมรับผิดชอบครอบครัว
สถานการณ์ |
จำนวนเท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน |
เงินเดือนประจำคู่สมรส |
3 เดือน |
เงินเดือนประจำรายได้คนเดียว |
6 เดือน |
รายได้ค่านายหน้าอย่างเดียว |
6 เดือน |
อาชีพที่หางานยาก เช่น ตำแหน่งงานที่มีรายได้สูงมาก |
12 เดือน |
เปลี่ยนงานจากลูกจ้างเป็นเจ้าของกิจการ |
12 เดือน |
อาชีพอิสระที่มีรายได้ไม่สม่ำเสมอ |
12 เดือน |
*เตรียมเงินสำรองฉุกเฉินจำนวนกี่เดือนนี้เป็นประมาณการ
ควรเตรียมเงินสำรองฉุกเฉินอย่างไร?
สรุปวิธีการเตรียมเงินฉุกเฉินได้ดังนี้
1. เปิดบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นบัญชีเงินสำรองฉุกเฉินวัตถุประสงค์เดียว*
2. ทยอยเก็บสะสมทุกเดือนจนกว่าจะครบ
3. ตัดค่าใช้จ่ายประเภทไม่ซื้อก็ยังดำรงชีวิตอยู่ได้ปกติ หรือปรับการใช้ชีวิตบางอย่าง ประเภทที่เป็นค่าใช้จ่ายเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จ่ายบ่อย ๆ เช่น กาแฟ, น้ำอัดลม, ซื้อของตลาดนัดราคาถูกแล้วไม่ได้ใช้, หนังสือซื้อมาอ่านไม่ทัน ฯลฯ ตัวอย่างเช่น ตื่นเช้าขึ้นอีก 1 ชั่วโมง ออกจากบ้านเร็วขึ้นจาก 7 โมง เป็น 6 โมงเช้า ประหยัดค่าทางด่วนวันละ 60 บาท 60 บาท x 22 วันทำงาน = 1,320 บาท
ตัวอย่างการลดค่าใช้จ่ายมาเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน
รายการค่าใช้จ่าย |
ราคา (บาท) |
ความถี่
|
ค่าใช้จ่ายต่อเดือน |
ของทดแทน/ตัดรายจ่าย |
ราคา(บาท) |
เงินเหลือ |
|
กาแฟสด |
60 |
2 |
ต่อวัน |
1,800 |
ซื้อกาแฟ Gold มาชงเอง |
20 |
1,200 |
เสื้อผ้าตลาดนัด |
200 |
1 |
ต่อสัปดาห์ |
800 |
เสื้อผ้าเยอะแล้ว (ไม่ซื้อ) |
|
800 |
ค่าทางด่วนไปกลับ |
60 |
2 |
ต่อวัน |
2,640 |
ใช้ทางด่วนขาไปขากลับหาเส้นทางใหม่ ไกลขึ้น 10 กิโลเมตร |
85 |
770 |
น้ำอัดลม |
14 |
2 |
ต่อวัน |
840 |
น้ำอัดลม 1 กระป๋อง |
14 |
420 |
อาหารมือพิเศษ |
500 |
4 |
ต่อสัปดาห์ |
496 |
ลดเหลือ 2 ครั้งต่อเดือน |
|
1,000 |
รวมค่าใช้จ่าย |
6,576 |
รวมค่าใช้จ่ายที่ประหยัดได้ |
4,190 |
ซื้อกาแฟทุกวันแก้วละ 60 บาท x 30 วัน = 1,800 บาท:เดือน x 12 เดือน =21,600 บาท:ปี
อาหารมื้อพิเศษครั้งละ 500 บาท สัปดาห์ละครั้ง x 4 ครั้ง =2,000 บาท:เดือน x 12 เดือน =24,000 บาท:ปี
ค่ากาแฟ ค่าอาหารมื้อพิเศษ ค่าเสื้อผ้า ค่าของจุกจิ๊กเวลาไปเดินตลาดนัด เช่น เสื้อผ้า ดูตัวอย่างตารางข้างบน เราสามารถลดค่าใช้จ่ายบางรายการได้ เช่น กาแฟแก้วละ 60 บาท เปลี่ยนเป็นซื้อมาชงเอง หรือทานกาแฟบริษัท, หรือหาเส้นทางเดินทางใหม่ที่ลดการจ่ายค่าทางด่วนหรือย่นระยะทางให้สั้นลง ฯลฯ ได้เงินออมเพิ่มขึ้นเดือนละ 4 พันกว่าบาท
อย่างไรก็ตาม, ถ้ารู้สึกว่าอึดอัดเกินไป ความสุขหายไป ยังไม่จำเป็นต้องตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออก แนะนำให้ตั้งเป็นงบประมาณสำหรับความสุข และใช้ให้หมดเป็นเดือน ๆ ไป ก็ยังมีความสุขได้ในงบประมาณที่กำหนด เรียกว่า “มีความสุขแบบรู้ตัว”
*เราสามารถนำเงินส่วนหนึ่งมาซื้อกองทุนรวมตลาดเงินที่ได้ผลตอบแทนมากกว่าเปลี่ยนเป็นเงินสดพร้อมใช้ได้ในวันรุ่งขึ้น