ทักษะการเงินไปสู่อิสรภาพการเงิน

ทักษะการเงินไปสู่อิสรภาพการเงิน

 

     

      หลังจากเราทราบแล้วว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์การเงินแบบใด ต่อไปคือการเข้ากระบวนการวางแผนการเงินเพื่อไปสู่อิสรภาพการเงิน ในกระบวนการอาจจะจำเป็นต้องปรับสภาพคล่องให้เหมาะสม สร้างแผนสำรองเพื่อรองรับความไม่แน่นอนมีการปรับหรือตัดค่าใช้จ่ายผันแปร และบางครั้งอาจจะจำเป็นต้องปรับค่าใช้จ่ายคงที่ให้ลดลง หากจำเป็น

      ถ้าการปรับรายจ่ายลงแล้ว ยังมีเงินไม่เพียงพอ จำเป็นต้องหารายได้เพิ่ม ในเบื้องต้นการเพิ่มรายได้แนะนำให้พัฒนาความสามารถในงานเดิมเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีรายได้เพิ่มก่อนจึงจะไปขั้นการค้นหาอาชีพที่ 2

      การเตรียมสร้างอาชีพที่ 2 ให้เกิดขึ้น นอกเหนือจากจะช่วยเพิ่มรายได้ในปัจจุบันแล้ว ยังเป็นการเตรียมทำอาชีพสำรองช่วงที่เรายังมีรายได้ประจำที่มั่นคงอยู่ ทักษะความชำนาญอาชีพที่ 2 อาจจะกลายเป็นรายได้หลักในอนาคตก็เป็นไปได้นอกจากนี้ ถ้ามีการถูกให้ออกจากงานกะทันหันอาชีพที่ 2 ช่วยให้เรายังคงมีอาชีพมีรายได้อยู่หรือทดแทนรายได้หลักกรณีเกษียณแล้วมีเงินออมไม่เพียงพอหลักเกษียณได้

กิจกรรมที่ต้องเข้ากระบวนการวางแผนการเงินของสถานะการเงินแต่ละแบบสรุปดังนี้

กระบวนการวางแผนการเงิน

พึ่งพาผู้อื่น

มีหนี้
ไม่มีเงินเก็บ

ไม่มีหนี้
ไม่มีเงินเก็บ

ไม่มีหนี้
เงินเหลือมาก

การเงินปลอดภัย

อิสรภาพ
การเงิน

ปรับโครงสร้างหนี้

x

 

 

 

 

 

บันทึกรายรับรายจ่าย

x

x

x

 

 

 

ปรับ/ตัดรายจ่าย

x

x

x

 

 

 

แบ่งประเภทรายจ่ายและทำงบประมาณรายจ่าย

x

x

x

 

 

 

เตรียมเงินสำรองฉุกเฉิน

x

x

x

x

 

 

วางแผนภาษี

x

x

x

x

 

 

วางแผนประกันภัย

x

x

x

x

 

 

วางแผนซื้อบ้านของครอบครัว

x

x

x

x

 

 

วางแผนการศึกษาบุตร วางแผนเกษียณอายุวางแผนดูแลผู้สูงอายุระยะยาว

x

x

x

x

x

 

จัดพอร์ตลงทุนตามความเสี่ยงที่รับได้และเป้าหมายการเงิน

x

x

x

x

x

 

วางแผนภาษีมรดก

x

x

x

x

x

พัฒนาความสามารถในงานปัจจุบัน/ค้นหาอาชีพที่ 2 และการสร้างธุรกิจ

x

x

x

x

x

x

 

*เงินสภาพคล่อง คือ เงินที่พร้อมใช้ มักออมในบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือกองทุนรวมตลาดเงิน ผลตอบแทนเฉลี่ย 0.5-1.8% ต่อปี ในขณะที่เงินเฟ้อเฉลี่ย 3-5%